Rabbit Store    

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ต้นกำเนิดของสายพันธุ์กระต่าย

Rabbit กระต่าย
กระต่าย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ 7 สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี แต่ที่พบมากจะเป็นสีอ่อนเช่นสีขาว เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus

ต้นกำเนิดของสายพันธุ์กระต่าย (The origin of breeds)


ในปัจจุบันได้มีพันธุ์กระต่ายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจาก กรณีใดกรณีหนึ่งใน 3 กรณีคือ
1.เกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation)
หมายถึงมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม โดยทันทีทันใด เช่น ถูกรังสี ตัวอย่าง เช่น กระต่ายพันธุ์ซาตินซึ่งเป็นกระต่ายของ อเมริกาเกิดมาจากการกลายพันธุ์ของกระต่ายพันธุ์ ฮาวาน่า , กระต่ายพันธุหูตก (Lop - ear) กระต่ายพันธุ์เร็กซ์ (Rex) ซึ่งเป็นกระต่ายพันธุ์ขนสั้น หรือกระต่ายพันธุ์แองโกล่าเป็นต้น
2.เกิดจากการรวมกัน (Combination) ของลักษณะที่มีอยู่ของกระต่ายตั้งแต่สองพันธุ์หรือมากกว่านั้น ในกรณีนี้การเกิดอาจเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้
3.เกิดจากการคัดเลือก (Selection)
ลักษณะเฉพาะเพื่อให้แตกต่างไปจากพันธุ์เดิม เช่น กระต่ายพันธุ์ เนเธอร์แลนด์ดวาร์ฟ ซึ่งเป็นกระต่ายของประเทศ เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นกระต่าย ของประเทศ เนเธอร์แลนด์ เกิดจากการคัดเลือกจากกระต่ายพันธุ์โปลิช ซึ่งเป็นกระต่ายของประเทศ อังกฤษ

การจำแนกสายพันธุ์กระต่าย (Classification of breeds)

การจัดแบ่งพันธุ์กระต่ายค่อนข้างจะทำได้ยาก แต่วิธีที่กระทำอยู่คือ
การจัดแบ่งตามขนาด
1. กระต่ายพันธุ์ขนาดใหญ่ (Large breeds)
กระต่ายที่มีขนาดใหญ่มักจะเรียกว่ากระต่ายยักษ์ (Giant Rabbit) กระต่ายที่มีขนาด ใหญ่โตที่สุดในโลก คือ กระต่ายพันธุ์เฟลมมิชไจแอนท์ ส่วนกระต่ายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ ไจแอนท์ ชินชิลล่า พันธุ์เชคเกอร์
2. กระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง (Medium breeds)
มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 4 - 5.5 กิโลกรัม ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ พันธุ์นิวซีแลนไวท์ พันธุ์ ซาติน เป็นต้น
3. กระต่ายขนาดเล็กพันธุ์ขนาดเล็ก (Small breeds)
กระต่ายที่มีขนาดเล็กนิยมเลี้ยงกันได้แก่พันธุ์แทน พันธุ์ฮาวาน่าเป็น ต้น กระต่ายเหล่านี้มีน้ำหนักประมาณ 1.8 - 3.2 กิโลกรัม
การจัดแบ่งตามลักษณะขน
1. กระต่ายพันธุ์ขนปกติ (Normal fur breed)
กระต่ายที่มีขนปกติจะมีความยาวขนประมาณ 1 นิ้ว เช่น กระต่าย พันธุ์ เฟลมมิชไจแอนท์ , กระต่ายพันธุ์ นิวซีแลนด์ไวท์
2. กระต่ายพันธุ์เร็กซ์ (Rexbreed)
ลักษณะขนแบบนี้จะพบเฉพาะในกระต่ายพันธุ์เร็กซ์ ซึ่งมีขนาดปานกลางเท่านั้น ขนมีลักษณะสั้นตั้งตรง คล้ายกำมหยี่ ส่วนขนชั้นนอกสั้นกว่าขนชั้นใน ซึ่งมีความยาวขนประมาณ 5/8 นิ้ว
3. กระต่ายพันธุ์ซาติน (Satin breed)
ขนจะประกอบไปด้วยส่วนแกนขน (Hair Shaft) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กและส่วนที่หุ้มขนมีลักษณะโปร่งแสง (Trangs - lucent) มากกว่าขนปกติจึงทำให้ขนแบบนี้มีสีและความเป็นเงางาม
New zeland White / California White
มีลักษณะตัวขาว ตาแดง (กระต่ายเผือก) เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม
นิยมใช้ในการทดลองยาเนื่องจากเห็นเส้นเลือดบริเวณหูชัดเจน บ้างเลี้ยงเป็นกระต่ายเนื้อ เลี้ยงไว้ดูเล่นได้
Rex หรือ กระต่ายขนกำมะหยี่
เป็นกระต่ายขนสั้น โดยปกติมักไม่เกิน 30 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นที่ต่างจากพันธุ์อื่นคือ มีขนชั้นในกับขนชั้นนอกอยู่ระดับเดียวกัน ทำให้มีลักษณะฟู แน่น ละเอียดและอ่อนนุ่มมากเป็นพิเศษ มีหลายสี น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 3 - 4 กิโลกรัม
Lops กระต่ายล็อปส
มีหน้าตาชวนเอ็นดูตรงที่มีใบหูใหญ่และตกลงด้านข้างตลอดเวลา แบ่งได้อีกหลายสายพันธุ์ตามถิ่นกำเนิด น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ 4 กิโลกรัม
Angora
เป็นกระต่ายพันธุ์ขนยาว เมืองนอกนิยมเลี้ยงเพื่อตัดขนนำมาทำเครื่องประดับและเครื่องแต่งกาย แต่ในไทยเลี้ยงเป็นกระต่ายดูเล่น เนื่องจากมีขนยาว ฟู น่ารักเหมือนตุ๊กตา สายพันธุ์ที่มีการพัฒนามาจาก Angora ได้แก่ Lion Head , Jerry Woody ฯลฯ
English Spot
บ้านเราเรียก Butterfly ขนที่ลำตัวมีสีขาวและมีลายสีดำแต้มเป็นจุดที่ตา หูและหลัง
Thai Rabbit กระต่ายไทย หรือกระต่ายพื้นเมือง
เป็นพันธุ์ที่พบได้มากที่สุด แต่มีลักษณะที่ไม่แน่นอนเนื่องจากบางครั้งมีการผสมข้ามพันธุ์ ทำให้มีลักษณะที่เปลี่ยนไป กระต่ายพันธุ์พื้นเมืองแท้ๆ จะมีหน้าแหลมเล็ก ใบหูเรียวยาว มีหลายสี เช่น น้ำตาล เทา ดำ ขาว มีความแข็งแรงและอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงง่ายไม่ต้องเอาใจใส่มากเท่ากระต่ายพันธุ์ต่างประเทศ
ถ้าใครเลี้ยงกระต่ายคงจะทราบกันดีถึงความสามารถในการผลิตประชากรกระต่าย โดยกระต่ายบ้านสามารถผสมพันธุ์ได้บ่อย และตั้งท้องปีละหลายครั้ง ปีหนึ่งจึงสามารถออกลูกได้ 4-8 ครอก ลูกกระต่ายที่มีอายุราว 6-8 สัปดาห์จะแยกจากแม่ได้และมีอายุเฉลี่ย 1-5 ปี ทั้งนี้ ในมดลูกของกระต่ายเพศเมียจะมี 2 ช่อง นั่นหมายความว่า กระต่ายจะสามารถอุ้มท้องตัวน้อยได้ถึง 2 ครอก ที่มีอายุครรภ์ต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน กระต่ายขยายพันธุ์ง่าย และก็ตายง่ายไม่แพ้กัน ผู้เลี้ยงกระต่ายทราบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน ที่กระต่ายอาจเกิดอาการช็อคตายได้ง่าย เพราะกระต่ายไม่มีต่อมเหงื่อ ระบายความร้อนได้ยาก เมื่ออากาศร้อนกระต่ายจะต้องหายใจถี่ขึ้น ที่จมูกจะสั่นเร็วขึ้น รวมถึงที่เส้นเลือดแดงใหญ่กลางหูจะช่วยทำงานระบายความร้อนมากขึ้น แต่ก็ยังระบายความร้อนไม่ทัน จึงทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงจนช็อคตาย
อย่างไรก็ดี การให้น้ำกระต่ายเป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะกระต่ายต้องการใช้ระบายความร้อน แต่ส่วนใหญ่ที่เราเลี้ยงกระต่ายกันก็ให้ผักหญ้า ซึ่งพืชพวกนี้มีน้ำสะสมอยู่ในระดับหนึ่ง ทำให้บางครั้งกระต่ายก็ไม่ต้องการน้ำเพิ่ม แต่หลายคนอาจมีความเชื่อว่าการให้น้ำกระต่าย อาจเป็นเหตุให้กระต่ายตายได้ นั่นอาจจะเป็นเพราะความสะอาดของน้ำหรือภาชนะบรรจุ นอกจากนี้ ในการจับกระต่าย ไม่ใช่จับที่หูแล้วดึงขึ้นมา เพราะถ้ากระต่ายตัวใหญ่และมีน้ำหนักมาก อาจทำให้เนื้ออ่อนบริเวณหูฉีกขาดได้ แต่ให้ค่อยๆ ประคองตัวลักษณะเหมือนอุ้มเด็ก และให้ทำด้วยความนุ่มนวล โดยเฉพาะหากกอดรัดที่บริเวณท้องอย่างรุนแรงก็จะทำให้กระต่ายได้รับอันตรายถึงตายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น